บทความวิชาการ

การพัฒนากลยุทธ์ การบริหารความเสี่ยงในการดำเนินงานของสำนักงานการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาค เขต 2 ภาคเหนือ

วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาความเสี่ยง สาเหตุความเสี่ยง การบริหารความเสี่ยง และเพื่อพัฒนากลยุทธ์และประเมินกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยง การดำเนินงานของสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 2 ภาคเหนือ ผลการสำรวจความคิดเห็นด้วยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์พนักงานฝ่ายปฏิบัติและฝ่ายบริหาร พบว่าองค์กรมีความเสี่ยง สาเหตุความเสี่ยง และการบริหารความเสี่ยง ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการจ่ายไฟฟ้าคืนหลังจากระบบจำหน่ายขัดข้อง ด้านการร้องเรียนในเรื่องแรงดันไฟฟ้า ด้านการอ่านหน่วยไฟฟ้าที่ใช้จริง ด้านใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้า และด้านการตอบข้อร้องเรียนจากผู้ใช้บริการ อยู่ในระดับปานกลาง หมายความว่าองค์กรยังมีความเสี่ยงค่อนข้างมากต่องานบริการขององค์กร สอดคล้องกับผลจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก ( SWOT ) พบว่า องค์กรอยู่ในภาวะกลยุทธ์การป้องกันตัว (WT) ในขณะที่ผลศึกษาหน่วยงานที่ประสบผลสำเร็จในการบริหารความเสี่ยง 5 หน่วยงาน พบว่า มีเทคนิคการบริหารความเสี่ยง 3 ด้าน ได้แก่ด้านการวางแผน ด้านกระบวนการดำเนินงาน และด้านการติดตามประเมินผล และเมื่อนำผลการศึกษาดังกล่าวข้างต้นมาเป็นข้อมูลสำหรับจัดทำกลยุทธ์ พบว่า มีปัจจัยความเสี่ยงการดำเนินงานมีจุดแข็ง 13 ข้อ จุดอ่อน 14 ข้อ โอกาส 7 ข้อ และอุปสรรค 6 ข้อ และผลการตรวจสอบกลยุทธ์โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่ากลยุทธ์ด้านการบริหารความเสี่ยงมีความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ผลจากการศึกษาคาดว่ากลยุทธ์การปรับปรุงการดำเนินงานบริหารความเสี่ยงให้ครบวงจรกลยุทธ์พัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการบริหารความเสี่ยง และกลยุทธ์เพิ่มขีดความสามารถด้านการบริหารความเสี่ยงให้บุคลากรทุกระดับ จะช่วยแก้ไขหรือลดความเสียหายของผลงานอันเกิดจากจุดอ่อนภายในองค์กรและอุปสรรคภายนอกได้ ในการบริหารความเสี่ยงขององค์กรที่อยู่ในภาวะกลยุทธ์การป้องกันตัวของสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 2 ได้

This study aimed to investigate the risk and its factors as well as the risk management, and to develop and assess an operational risk management strategy for the Office of Provincial Electricity Authority in Northern Region 2. Through a questionnaire survey and interview with operation personnel and administrative personnel, it was found that all the 5 aspects involving risk, risk factors and risk management: restoration of power supply after a grid breakdown, complaints about voltage, reading of watt-hour data, electrical- invoice related defects and responses to client’s complaints, were at a moderate level. This revealed a potentially high operational risk of the organization. It was in accordance with the results of an internal and external situation analysis (SWOT) which showed that the organization was in a WT defensive strategy. Meanwhile, the investigation of 5 departments with a success in risk management revealed 3 risk management tactics used, including planning, executing and evaluating. Based on the collected data, a strategy was then developed using SWOT matrix. The operational risk factors included 13 strengths, 14 weaknesses, 7 opportunities and 6 threats. Examined by experts, the developed strategy was found to be appropriate, feasible and employable at the highest level. Thus, it is recommended that the Office of Provincial Electricity Authority in Northern Region 2 employ the strategy to improve the organization in the risk management. Particularly, the strategy developing resource management underlining the importance of organization’s resources should be implemented. And strategies can increase the risk to personnel at all levels. It may be helpful to provide sufficient supplies of modern and good-conditioned equipment, machineries and vehicles so as to prevent or reduce losses caused by internal weaknesses and external threats.


ชื่อผู้แต่ง : ปรีชา แก้วสุข, สุนทรี ดวงทิพย์, เฉลิมชัย มนูเสวต
คำสำคัญ : กลยุทธ์, การบริหารความเสี่ยง, สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 2 ภาคเหนือ
ประเภท : การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
พ.ศ. : 2558   ปีที่ : 55   ปีที่ : 1  

© 2015 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | National Institute of Development Administration. All rights reserved.
118 หมู่ที่ 3 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 Tel: 0-2727-3000 Fax: 0-2375-8798 E-mail: prnida@nida.ac.th