บทความวิชาการ

ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านต่าง ๆที่มีผลต่อความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ การศึกษาใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจด้วยตัวอย่าง กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาได้แก่ ประชาชนอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ รวม 15 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นครปฐม พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี ชลบุรี นครราชสีมา หนองคาย อุบลราชธานี พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เชียงใหม่ ชุมพร นครศรีธรรมราช และสตูล การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน รวมจำนวนตัวอย่างในการศึกษาทั้งสิ้น 991 คน การเก็บข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์ด้วยแบบสัมภาษณ์ และนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับความพึงพอใจในคุณภาพชีวิต โดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวน t-test และ F-test ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในคุณภาพชีวิต ได้แก่ อาชีพ สถานภาพสมรส ความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม ความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตด้านการทำงาน ความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ ความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตด้านครอบครัว การเป็นเจ้าของบ้านพักอาศัย และการมีเงินออม ผู้วิจัยเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเพิ่มบทบาทในการดูแลคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในด้านต่าง ๆ ได้แก่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยศูนย์การเฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคม ควรเร่งเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย ควรเพิ่มการรณรงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพให้กับผู้สูงอายุ และกระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคม ควรส่งเสริมการสร้างหลักประกันเมื่อเกษียณอายุสำหรับกลุ่มแรงงานให้ครอบคลุมมากขึ้น ด้วยการขยายโอกาสในการเข้าถึงกองทุนประกันสังคมสำหรับแรงงานทุกกลุ่มทุกประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทุนกรณีชราภาพ

The research paper aimed to study factors which affect the quality of life satisfaction of the aged. Nine hundred and Ninety-one people (991 participants) who lived in 15 provinces namely Bangkok, Samut Prakan, Nakhon Pathom, Phra Nakhon Si Ayutthaya, Ratchaburi, Chonburi, Nakhon Ratchasima, Nong Khai, Ubon Ratchathani, Phitsanulok, Uttaradit, Chaing Mai, Chumphon, Nakhon Si Thammarat and Satun were selected as a sample group by multistage cluster sampling method. A questionnaire was used to gather data. Mean, standard deviation, t-test and F-test were employed to analyze the data at the significant level of 0.05. The results indicate that factors such as occupation , marital status , environmental satisfaction, working life satisfaction, health satisfaction, family life satisfaction, household status and saving significantly affect the satisfaction of quality of life. Thus, public sectors such as 1) Social Warning Center, Ministry of Social Development and Human Security should establish surveillance networks for people in community to take care their aged 2) Department of Health should enhance knowledge and awareness about health care of aged and 3) Social Security Office should enhance the employees to reach the social security fund , especially in the case old-age benefit.


ชื่อผู้แต่ง : มนตรี เกิดมีมูล (Montree Koedmeemul)
คำสำคัญ : ผู้สูงอายุ, คุณภาพชีวิต, ความพึงพอใจ
ประเภท : ประชากรและการพัฒนา
พ.ศ. : 2558   ปีที่ : 55   ปีที่ : 1  

© 2015 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | National Institute of Development Administration. All rights reserved.
118 หมู่ที่ 3 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 Tel: 0-2727-3000 Fax: 0-2375-8798 E-mail: prnida@nida.ac.th