บทความวิชาการ

ความมั่นคงทางอาหารและความสามารถในการจัดการครัวเรือนของเกษตรกรในเขตพื้นที่ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดมหาสารคาม

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของความสามารถในการจัดการครัวเรือนที่มีต่อความมั่นคงทางอาหารของครัวเรือน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ครัวเรือนเกษตรกรในเขตพื้นที่สำนักงานการปฎิรูปที่ดินในจังหวัดมหาสารคาม โดยมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 595 ครัวเรือน ผลการศึกษาพบว่า ความมั่นคงทางอาหารด้านความเพียงพอของอาหารและการใช้ประโยชน์ของอาหารมีค่ามากที่สุด และเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ความสามารถในการจัดการครัวเรือน ด้านความสามารถในการจัดทำบัญชีครัวเรือนนั้นอยู่ในระดับน้อย และยังพบว่ากลุ่มครัวเรือนที่มีความสามารถในการจัดการครัวเรือนที่สูงกว่าจะมีความมั่นคงทางอาหารทุกด้านและเป็นรายด้านสูงกว่ากลุ่มครัวเรือนที่มีความสามารถในการจัดการครัวเรือนระดับต่ำ ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงทางอาหาร คือ การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน และศักยภาพในการเรียนรู้ของครัวเรือน

The research aims to study the impact of household management capacity on food security. Data are randomly collected from 595 households of farmer under Agricultural Land Reform Office in Mahasarakham Province. The result appears that food availability and food utilization are the most important components of food security. The ability of doing household accounting is weak. It also found that households with higher household management capacity have more food security than the lower ones. The factors those are important for food security is access to infrastructure and learning potentials of households.


ชื่อผู้แต่ง : นิติพงษ์ ส่งศรีโรจน์ (Nitiphong Songsrirote)
คำสำคัญ : ความมั่นคงทางอาหาร, ความสามารถในการจัดการครัวเรือน, ศักยภาพการเรียนรู้
ประเภท : เศรษฐศาสตร์
พ.ศ. : 2558   ปีที่ : 55   ปีที่ : 1  

© 2015 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | National Institute of Development Administration. All rights reserved.
118 หมู่ที่ 3 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 Tel: 0-2727-3000 Fax: 0-2375-8798 E-mail: prnida@nida.ac.th