Caught in The Air: Suspension of Tiger Airways Domestic Flights in Australia & Implications for Stakeholder Management
อวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 ก่อนถึงวันหยุดฤดูหนาวเพียงเล็กน้อยในออสเตรเลีย
สายการบินไทเกอร์ แอร์เวส์ ออสเตรเลีย ซึ่งเป็นสายการบินต้นทุนต่ำ ก่อตั้งโดยสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลนส์ ทุกเที่ยวบินถูกสั่งระงับบินโดยกรมควบคุมความปลอดภัยด้านการบินพลเรือนของออสเตรเลีย เนื่องจากฝ่าฝืนมาตรการความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก่อให้เกิดคำถามเกี่ยวกับความปลอดภัย และมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับการบิน ผู้ควบคุมการบินกล่าวว่า สายการบินดังกล่าว “ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่ร้ายแรงและจวนเจียนต่อความปลอดภัยในการบิน” และการสั่งระงับเที่ยวบินทั้งหมดของสายการบิน นับเป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์การบินของออสเตรเลีย การสั่งระงับเที่ยวบินดังกล่าวโดยกระทันหัน ประกอบกับสายการบินไทเกอร์ไม่ได้ให้ข้อมูลแก่ผู้โดยสารของตน ทำให้ผู้โดยสารหลายคนทราบถึงการยกเลิกเที่ยวบินเมื่อเดินทางมาถึงสนามบินแล้ว สายการบินไทเกอร์ได้ออกแถลงการณ์ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม หลังถูกสั่งระงับบินแล้ว 3 วัน เพื่อแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าว ไทเกอร์สัญญาที่จะคืนเงินทั้งหมดหรือให้เครดิตตั๋วเครื่องบินแก่ผู้โดยสารที่ถูกกระทบ จากกรณีการถูกสั่งระงับเที่ยวบินของไทเกอร์ บริษัทสายการบินคู่แข่ง คือ เจ็ทสตาร์และเวอร์จิน ต่างก็สัญญาที่จะจัดเที่ยวบินพิเศษเพื่อช่วยเหลือผู้โดยสารตกค้าง และเสนอตั๋วเครื่องบินราคาพิเศษให้แก่ผู้ที่ถูกกระทบ สายการบินแควนตัสก็ได้เสนอตั๋วเครื่องบินลดราคา และวิศวกรของสายการบินแควนตัสได้ยกเลิกการประท้วงนัดหยุดงานที่ได้วางแผนไว้ ตามที่ได้รับการขอร้องจากรัฐบาล เพื่อให้การระงับการบินดังกล่าวมีผลกระทบน้อยที่สุด
เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ. 2011 กรมควบคุมความปลอดภัยด้านการบินพลเรือนได้ยกเลิกการสั่งระงับเที่ยวบินของไทเกอร์ แต่ได้ออกเงื่อนไขแบบเบ็ดเสร็จที่ครอบคลุมใบอนุญาตการบิน ทั้งนี้ไทเกอร์ไม่สามารถกลับไปบินในเส้นทางการบินเดิมได้ทันที โดยเส้นทางการบินเดิมแต่ละเส้นจะสามารถบินได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากกรมควบคุมความปลอดภัยด้านการบินพลเรือน กรณีนี้ชี้ให้เห็นเป็นอย่างดีถึงการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในสถานการณ์วิกฤต เมื่อไทเกอร์ต้องรับมือกับหน่วยงานกำกับดูแลผู้โดยสาร และคู่แข่ง ในเวลาเดียวกัน กรณีนี้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การสื่อสารเมื่อเกิดวิกฤตและชื่อเสียงและการบริหารปัญหาส
On 2 July 2011, just before the winter holidays in Australia, all
flights of Tiger Airways Australia, which is a budget airline founded by
Singapore Airlines, were grounded by Australia’s Civil Aviation Safety
Authority (CASA) due to a series of safety breaches, which raised questions
about safety and its airworthiness. Aviation regulators said that the airline
posed “a serious and imminent risk to air safety” and the grounding of an
entire airline was the first in Australian aviation history. Due to the short
notice of the grounding, coupled with the lack of information from Tiger to its
customers, many passengers learned about the flight cancellation only when
they arrived at the airport. Tiger released a press statement on 5 Jul, 3 days
after the grounding. To recover from the situation, Tiger had promised to
provide full refunds or ticket credits to customers who have been affected.
In view of Tiger’s grounding, their competitors, Jetstar and Virgin, both promised to add extra flights to help stranded passengers, and offered
special fares to those affected. Qantas also offered discounted flights, and
Qantas engineers called off a scheduled strike at the request of the government
to ensure flight disruptions were kept to a minimum. On 10 August 2011,
CASA lifted Tiger’s flight suspension; however CASA imposed a comprehensive
set of conditions to its operating license. Tiger was unable to resume all flight
routes immediately; instead each route could only be reestablished after
gaining approval from CASA. This case is a good illustration of stakeholder
management in a crisis situation as Tiger Airways had to deal with regulatory
bodies, passengers, and competitors at the same time.
This case aims to illustrate the topics of stakeholder management,
crisis communication, as well as reputation and issues management for
business organizations. Through the case of Tiger Airways being grounded,
the paper demonstrates how this airlines company managed different
stakeholders’ interests. The readers are encouraged to prioritize the issues
and stakeholders’ salience (Bundy, Shropshire, & Buchholtz, 2013) to help
the organization recover from damaged reputation (De Maria, 2010).
Readers of this case will be asked to complete three main tasks. First, the
readers will apply stakeholder theory to map various stakeholders and
their influence on Tiger Airways on the grounding incident. Second, the
readers will evaluate the effectiveness of strategic management of Tiger
Airways as described in the case. Finally, the readers will propose
alternative strategies for Tiger Airways to handle the situation based on
stakeholder analysis. This case is appropriate for upper level undergraduate
and graduate students in management, communication, and public
relations courses.
ชื่อผู้แต่ง : Samuel Chua De Fu, Pao Pai Tse, Gayathiri Mathivanan and Suwichit (Sean) Chaidaroon
คำสำคัญ :
Stakeholder Management, Crisis Communication, Public Relations
ประเภท : Business Administration
พ.ศ. : 2557
ปีที่ : 6
ปีที่ : 2
|