บทความวิชาการ

A DRIVE TO SCANDAL

กรณีศึกษานี้เป็นกรณีศึกษาเกี่ยวกับ บริษัท เอส.อี.ซี.ออโต้เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ SECC ที่อธิบายตั้งแต่การเริ่มจดทะเบียนเป็นบริษัทนำเข้ารถยนต์เล็กๆ จนนำไปสู่การทุจริตทางการเงินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย SECC เคยเป็นหนึ่งในผู้นำธุรกิจด้านการนำเข้ายานยนต์ บริษัท SECC จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อเดือนพฤษภาคม 2549 และอีกสองปีต่อมานักลงทุนก็ต่างให้ความสนใจต่อหุ้นของบริษัทเป็นอย่างมากเมื่อบริษัท SECC ประกาศการเข้าร่วมเสนอราคาในโครงการรถเมล์เอ็นจีวีของภาครัฐด้วยมูลค่าของโครงการที่มากกว่า 62,600 ล้านบาท โดยที่บริษัท SECC จะทำการจัดหารถเมล์ 4,000 ให้แก่รัฐบาล ผลพ่วงจากข่าวนี้เองทำให้เกิดแรงผลักดันที่นักลงทุนจะหันมาเก็งกำไรในราคาหลักทรัพย์ SECC จนกระทั่งเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2556 ได้มีข่าวลือแพร่สะพัดในวงการเกี่ยวกับการหายตัวไปอย่างไร้รองรอยของนายสมพงษ์ วิทยารักษ์สรรค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้งบริษัท SECC จนในเวลาต่อมาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำเป็นต้องประกาศเครื่องหมาย "SP" ห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ SECC กรณีศึกษานี้ให้รายละเอียดการฉ้อโกงของบริษัทจดทะเบียนในรูปแบบต่าง ๆ ตลอดจนพฤติกรรมการหลอกลวงและการกระทำผิดโดยกรรมการของบริษัทอันก่อให้เกิดผลกระทบกับบริษัทและราคาหลักทรัพย์ และเป็นสาเหตุของการตรวจพบความบกพร่องของระบบการกำกับดูแลและตรวจสอบภายใน ซึ่งสุดท้ายสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต) ก็ได้ดำเนินการเอาการผิดกับผู้บริหารและผู้สมรู้ร่วมคิดในประเด็นของการละเมิดพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ด้วย

The case chronicles SECC’s progression from its early days, when it was perceived by consumers to be the leader in the imported automotive business, to its successful public listing in the Stock Exchange of Thailand in May 2006. Further described is how trading in the company’s initially perceived mundane shares received an extraordinary boost when in 2008, SECC’s management announced that the company had won the bid on the government’s NGV bus project. With the worth of the project valued at more than 62,600 billion baht for the 4,000 buses that SECC was to procure for the government, the announcement was well received by the investing public. This announcement, the case demonstrates, became the impetus for the ensuing nearly unbridled speculation on the prices of SECC stocks by many investors in the market – speculation that continued virtually unabated right up to November 27, 2008, when pursuant to emerging new details concerning the misconduct of SECC’s founder and chairman, Sompong Witthayaraksan (who was rumored to have fled the country), the Stock Exchange of Thailand (SET) announced that a (“SP”) had been placed on SECC stocks. The case provides copious details of the various forms of fraudulent behaviors and other misconduct perpetrated by the company’s directors. Specifically, with results of an external auditor’s report on the internal operations of the firm, the Securities and Exchange Commission of Thailand subsequently charged the director and his accomplices with the following breaches of the Securities and Exchange Act.


ชื่อผู้แต่ง : Sid Suntrayuth
คำสำคัญ : Listed Company in SET, Fraudulent, Agency theory and Corporate Governance
ประเภท : Business Administration
พ.ศ. : 2558   ปีที่ : 7   ปีที่ : 1  

© 2015 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | National Institute of Development Administration. All rights reserved.
118 หมู่ที่ 3 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 Tel: 0-2727-3000 Fax: 0-2375-8798 E-mail: prnida@nida.ac.th