บทความวิชาการ

แนวทางการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้าน: มุมมองเชิงการมีส่วนร่วมของประชาชนและการบริหาร

การศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อเท็จจริงสภาพปัญหาอุปสรรค ผลดีและข้อจำกัดในการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้าน การศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มย่อย จากกลุ่มตัวอย่างกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประชาชน และข้าราชการส่วนภูมิภาคจาก 8 จังหวัด ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยผลการศึกษา พบว่า ด้านข้อเท็จจริงสภาพปัญหาอุปสรรคในการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คือ 1) เป้าหมายในการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ผิดหลักการประเมินเพราะเป็นการประเมินเพื่อให้พ้นหรือให้ดำรงตำแหน่งต่อไป 2) การประเมินผลจะไม่สิ้นสุดที่คณะกรรมการประเมินหากมีการอุทธรณ 3) คงเป็นการยากที่จะหารูปแบบที่ดีที่สุดในการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ได ้ ด้านแนวทางในการมีส่วนร่วม ผลดีและข้อจำกัดในการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คือ 1) บุคคลผู้สมควรเป็นคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ 2) ที่มาของประชาชนในคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน 3) ตัวชี้วัดในการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้จากการศึกษามีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1) ควรมีการจัดสวัสดิการภายหลังการเป็นผู้ช่วยเจ้าูพนักงานสอบสวน ฝ่ายปกครองของกำนันผู้ใหญ่บ้าน 2) ควรมีการจัดส่งแบบบันทึกการปฏิบัติงานให้แก่กำนัน ผู้ใหญ่บ้านอย่างทั่วถึง 3) มีการเตรียมการทางการคลังเพื่อระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน 4) การเตรียมแนวทางสำหรับกำนันผู้ใหญ่บ้านที่ไม่ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อวางระบบรองรับและไม่เป็นภาระแก่ทางราชการ

This study examine a performance assessment system used in Thailand to evaluate subdistrict chiefs (Kamnan) and village heads (Phuyaiban). Apart from extensive document analyses, data were gathered in-depth interview and focus group discussion with stakeholder groups, including subdistrict chiefs, village heads, citizens, and provincial government offi cials in eight provinces randomly selected from every region. Findings reveal several weaknesses of the performance assessment system. First, it does not serve as an accountability mechanism but has been used only to dismiss or extend tenure of subdistrict chiefs and village heads. Second, the committee does not have full control of the assessment process, because a appeals committee may adjudicate confl icts between assessment committees committees and those being evaluated. Third, it is diffi cult to develop the best performance assessment system. Findings indicate the performance assessment system can benefi t from citizen participation. The assessment committee should consist of representatives from all stakeholder groups and should be chosen based on an inclusive and transparent process. Performance indicators must asses physical and psychological attributes of the subdistrict chiefs and village heads, as well as their performance, leadership, and citizen satisfaction. Assistants of subdistrict chiefs and village heads should be eligible for government pensions and benefi ts. Subdistrict chiefs and village heads should be required to submit annual performance reports, to be made publicly available. The Interior Ministry should institute a policy to deal with sub-optimal performance.


ชื่อผู้แต่ง : 1.อัชกรณ์ วงศ์ปรีดี 2.จินดาลักษณ์ วัฒนสินธุ์ 3.สุนทรชัย ชอบยศ
คำสำคัญ : การประเมินผล, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน
ประเภท : Public Administration
พ.ศ. : 2548   ปีที่ : 1   ปีที่ : 1  

© 2015 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | National Institute of Development Administration. All rights reserved.
118 หมู่ที่ 3 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 Tel: 0-2727-3000 Fax: 0-2375-8798 E-mail: prnida@nida.ac.th