บทความวิชาการ

นวัตกรรมสื่อสังคมกับประชาคมอคติ

สื่อใหม่ที่เกิดจากเทคโนโลยีดิจิทัล ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและการสื่อสารมากขึ้น ด้วยการหลอมรวมการสื่อสารมวลชน คอมพิวเตอร์ และโทรคมนาคมเข้าด้วยกัน จึงทำให้ภูมิทัศน์ของการสื่อสารในยุคสังคมสารสนเทศเปลี่ยนไปอย่างมาก กระนั้น สื่อใหม่ที่ต่อยอดกลายเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ ยังทำให้มนุษย์สร้างกำแพงรับข้อมูลข่าวสารขึ้นมาด้วย เพราะเลือกเฉพาะสิ่งที่ตอกย้ำกับความเชื่อเดิม จนอาจยิ่งบ่มเพาะความคิดสุดโต่งเพิ่มขึ้นไปอีก ที่สำคัญ ยังถูกแพร่กระจายตัวออกไปได้มากมายอย่างรวดเร็ว สื่อสังคมรวบรวมกลุ่มเพื่อนๆ จนกลายเป็นสาธารณชนใหม่ที่เกิดมาจากทุกย่างก้าวชีวิต ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันเป็น “อัตตาสาธารณะ” ของแต่ละบุคคลที่มีจำนวนนับร้อยพันหรือมากกว่านั้น เครือข่ายสังคมออนไลน์นี้มีที่มาจากการเลือกของแต่ละบุคคล จนกระทั่งนำไปสู่การประกอบสร้าง “ประชาคมอคติ” ซึ่งเพื่อนหรือสมาชิกส่วนใหญ่มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน ถึงขั้นปิดกั้นและปฏิเสธความคิดต่าง รวมทั้งเป็นเหตุนำไปสู่การเกลียดชัง การใช้วาจาเพื่อความเกลียดชัง ตลอดจนความขัดแย้งแตกแยก หากสื่อสังคมจะเป็นนวัตกรรมที่สร้างสรรค์อย่างแท้จริง มนุษย์ควรเรียนรู้และเปิดใจให้กว้าง เพื่อรับข้อมูลข่าวสารที่แตกต่างหลากหลายยิ่งขึ้น พร้อมกับสนับสนุนส่งเสริมสันติสนทนา โดยหันมาร่วมกันสร้างพื้นที่อุดมปัญญาผ่านนวัตกรรมการสื่อสาร

Stemmed from digital technology, new media increases the efficiency in work and communication tremendously by converging the mass media, computer and telecommunication together, which has dramatically changed the communication landscapes in the age of information society. Nonetheless, new media that was extended to become the online social network also makes people create a wall of information. That is because one would only select information to confirm one’s own beliefs. The viewpoints could thus become extreme. More importantly, these could be diffused widely and quickly. Social Media has accumulated friends from every step of life, from past to present, to become a new kind of personal public aka egocentric public. This could number from hundreds, thousands or more. Originated from personal preferences, online social network results in the construction of “biased community” that most friends or the majority of members are like-minded. This could even shun or reject different points of view, and serve as a cause of hatred, hate speech as well as conflicts and separatism. If social media were to be a true creative innovation, human being should learn and open one’s heart more for accepting the different and diverse sources of information. At the same time, peace dialogue should be encouraged and supported so that the space of intellect could be created collaboratively via communication innovation.


ชื่อผู้แต่ง : อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว
คำสำคัญ : นวัตกรรม สื่อใหม่ สื่อสังคม อัตตาสาธารณะ ประชาคมอคติ
ประเภท : Human Resource Development
พ.ศ. : 2548   ปีที่ : 3   ปีที่ : 1  

© 2015 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | National Institute of Development Administration. All rights reserved.
118 หมู่ที่ 3 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 Tel: 0-2727-3000 Fax: 0-2375-8798 E-mail: prnida@nida.ac.th