บทความวิชาการ

การหาจำนวนรถบรรทุกอ้อยที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานรถตัดอ้อย ด้วยการประยุกต์ใช้แบบจำลองสถานการณ์

การพัฒนาระบบการเก็บเกี่ยวและขนส่งอ้อยที่มีประสิทธิภาพถือเป็นเรื่องท้าท้ายและได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่องในการหาแนวทางการจัดการที่จะส่งผลให้เกิดผลกำไรต่ออุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายเพิ่มขึ้น บทความนี้ได้ทำการศึกษาและสร้างแบบจำลองสถานการณ์ด้วยโปแกรมอารีน่าของกระบวนการตัดอ้อยด้วยรถตัดและทำการขนส่งอ้อยด้วยรถบรรทุก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของรถตัดอ้อย ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันพบว่า รถบรรทุกที่ใช้ร่วมกับรถตัดอ้อยมีจำนวนไม่เหมาะสม ส่งผลให้รถตัดอ้อยมีเวลารอคอยที่หน้าแปลงสูง และรถตัดอ้อยทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาปัญหาโดยเน้นไปที่การหาจำนวนรถบรรทุกที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของรถตัดอ้อยและลดเวลารอคอยที่หน้าแปลงของรถตัดอ้อย โดยวิเคราะห์ข้อมูลของโรงงานน้ำตาลกรณีศึกษา พร้อมทั้งนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาสำหรับการหาจำนวนรถบรรทุกที่เหมาะสมตลอดฤดูหีบอ้อย ซึ่งพบว่าแนวทางการเพิ่มจำนวนรถบรรทุกจากปัจจุบัน 11 คัน เป็น 26 คัน ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของรถตัดอ้อยเพิ่มขึ้น 66.54% ระยะเวลารอคอยที่หน้าแปลงของรถตัดอ้อยลดลงโดยเฉลี่ย 67.45% และนอกจากนี้ยังสามารถบริหารจัดสรรรถตัดอ้อยให้สามารถรองรับการตัดอ้อยได้จากเดิม 9,000 ตัน เป็น 14,562 ตัน ซึ่งทำให้ผลกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 4,077,037.20 บาท หรือคิดเป็น 60.59%

Developing a more efficient sugarcane harvesting and transport system raises a number of scientific challenges and issues regarding the changes required within the industry in order to realize maximum benefits. This article has developed a simulation model for sugarcane mechanical harvesting and transportation by truck. The purpose is to increase the efficiency in the utilization of sugarcane mechanical harvesters. There is an inadequate number of trucks waiting for the transference of sugarcane from the source area, resulting in ineffective utilization of harvesters. Therefore, this study is focused on determining the suitable number of trucks in order to increase the efficiency and to reduce the waiting time for the entire system. Based on a data analysis of a sugar factory, proposed alternative strategies for allocating different numbers of trucks were used, increasing the number of trucks from 11 to 26. The result was an increase of 66.54% in harvesting utilization and a reduction in the average mechanical harvester wait times for sugarcane planting by 66.54%. Moreover harvesting from 9,000 tons to 14,562 tons can be managed, creating a total maximum profit increase of 4,077,037.20 baht or 60.59%.


ชื่อผู้แต่ง : ปาณิสรา นันดี วรญา เนื่องมัจฉา* และ อธิวัฒน์ บุญมี
คำสำคัญ : การจำลองสถานการณ์, การเก็บเกี่ยวอ้อย, อ้อย
ประเภท : การวิจัยดำเนินงาน
พ.ศ. : 2561   ปีที่ : 6   ปีที่ : 1  

© 2015 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | National Institute of Development Administration. All rights reserved.
118 หมู่ที่ 3 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 Tel: 0-2727-3000 Fax: 0-2375-8798 E-mail: prnida@nida.ac.th