บทความวิชาการ

การวางแผนบริหารจัดการสินค้าคงคลังโดยใช้หลักการจำลองสถานการณ์ กรณีเติมเต็มสินค้าร่วมกันภายใต้สถานการณ์สินค้ามีกำหนดวันหมดอายุ และการหมุนเวียนสินค้าแบบเข้าหลังออกก่อน

งานวิจัยนี้ทำการศึกษานโยบายการเติมเต็มสินค้าคงคลังที่เหมาะสมสำหรับระบบร้านค้าปลีกที่มีการจำหน่ายสินค้าหลายประเภทสินค้ามีเสื่อมสภาพและผู้บริโภคมีพฤติกรรมการซื้อสินค้าแบบเข้าทีหลังออกก่อนโดยนโยบายการเติมเต็มสินค้าในร้านค้าปลีกเป็นแบบตามรอบเวลาร่วมกันหลายชนิดสินค้า สินค้าแต่ละประเภทมีกำหนดวันหมดอายุกรณีสินค้าไม่พอขาย ถูกพิจารณาเป็นการสูญเสียการขายทั้งหมด สำหรับสินค้าที่หมดอายุถูกกำหนดให้ไม่สามารถทำการขายได้ การเคลื่อนไหวของสินค้าเป็นลักษณะสินค้าที่เข้าทีหลังถูกจำหน่ายออกไปก่อนซึ่งเป็นสภาวะทั่วไปสำหรับร้านค้าปลีกที่ลูกค้ามีแนวโน้มเลือกซื้อสินค้าที่มีกำหนดวันหมดอายุล่าสุด แบบจำลองสถานการณ์ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อกำหนดช่วงเวลาในการเติมเต็มสินค้า ระดับสินค้าคงคลังสูงสุดและระดับการให้บริการผู้บริโภคที่เหมาะสมซึ่งก่อให้เกิดผลกำไรสูงสุดต่อระบบ จากผลการศึกษา ตัวแบบการจำลองสถานการณ์ระบบที่มีสินค้าสามประเภทเพื่อเปรียบเทียบคำตอบที่ได้รับจากการหมุนเวียนสินค้าแบบ เข้าทีหลังออกก่อนและการหมุนเวียนสินค้าแบบเข้าก่อนออกก่อน พบว่าระบบที่มีการหมุนเวียนสินค้าแบบเข้าทีหลังออกก่อน มีค่าเฉลี่ยผลกำไรสูงสุดและระดับการให้บริการลูกค้าที่ดีที่สุดต่ำกว่าระบบที่มีการหมุนเวียนสินค้าแบบเข้าก่อนออกก่อนโดยประมาณ 12 และ 10 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ทั้งนี้สามารถอธิบายได้ว่าพฤติกรรมการซื้อสินค้าแบบเข้าทีหลังออกก่อนของผู้บริโภคทำให้เกิดสินค้าเก่าหมดอายุในปริมาณที่สูง ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายของระบบสูงขึ้น ผลกำไรโดยรวมของระบบจึง มีค่าลดต่ำลง อีกทั้งความเสี่ยงจากการมีสินค้าหมดอายุมากขึ้นส่งผลให้การจัดเก็บสินค้าเผื่อลดลง ระดับการให้บริการลูกค้าที่ดีที่สุดจึงมีค่าลดลง

The research objective is to determine a proper inventory replenishment policy for the retail system having multiple perishable products and last-in first-out customer demand. In the system, all products must be replenished together at the same interval. The unsatisfied demand occurred from any product stock-out is considered as lost sales. On the other hand, any product that cannot be sold before its expiration date must be scrapped. The last-in first-out physical product movement is assumed in order to represent practical customer behavior for those products having expiration dates. The simulation model was created in order to determine the proper joint ordering inventory plenishment period, the quantity of each product replenishment, and the safety stock in order to maximize the annual system profit. The experimental study based on a simulation model of a system having three products is conducted in order to compare the solutions between the last-in first-out and first-in first-out customer behaviors. It has been found that, in comparison to the first-in first-out customer behavior, the last-in first-out customer behavior yields lower values for both average of maximum system profits and optimal customer service level by twelve and ten percent, respectively. It can be explained that the last-in first-out customer behavior tends to increase the amount of expired items and, hence, annual profit along with customer service level are decreased.


ชื่อผู้แต่ง : วิสุทธิ์ สุพิทักษ์ และ สุธีรา ปุลิเวคินทร์
คำสำคัญ : สินค้าคงคลัง, การจำลองสถานการณ์, เข้าทีหลังออกก่อน, สินค้ามีการเสื่อมสภาพ, การหมดอายุ
ประเภท : การวิจัยดำเนินงาน
พ.ศ. : 2560   ปีที่ : 5   ปีที่ : 2  

© 2015 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | National Institute of Development Administration. All rights reserved.
118 หมู่ที่ 3 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 Tel: 0-2727-3000 Fax: 0-2375-8798 E-mail: prnida@nida.ac.th