บทความวิชาการ

การเลือกทำเลที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าภูมิภาคในประเทศไทย โดยการวิเคราะห์ ปัจจัยเชิงปริมาณร่วมกับปัจจัยเชิงคุณภาพด้วยฟังก์ชันหลายวัตถุประสงค์

ตำแหน่งที่ตั้งของศูนย์กระจายสินค้าส่งผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนการกระจายสินค้าในระยะยาวและความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าขององค์กร การเลือกทำเลที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าที่ทำให้มีต้นทุนโลจิสติกส์โดยรวมต่ำที่สุดอาจส่งผลกระทบต่อปัจจัยอื่น เช่น ทำเลพื้นที่ที่ถูกเลือกอาจมีความเสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรืออยู่ห่างจากรูปแบบการขนส่งรูปแบบอื่นที่อาจส่งผลต่อการปรับแผนกลยุทธ์การกระจายสินค้าหรือความยืดหยุ่นในการขนส่งสินค้าในอนาคต ในทางกลับกัน การเลือกทำเลพื้นที่บนพื้นฐานของปัจจัยเชิงคุณภาพอาจส่งผลให้มีต้นทุนในการกระจายสินค้าสูงในระยะยาว งานวิจัยนี้จึงเสนอแนวคิดการนำปัจจัยหลายด้านมาพิจารณาร่วมกัน โดยมีปัจจัยด้านต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและการขนส่ง ปัจจัยด้านความเสี่ยงต่ออุทกภัยและปัจจัยด้านรูปแบบการขนส่งทางรถไฟและเครื่องบิน มาวิเคราะห์ร่วมกันในการคัดเลือกทำเลที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าส่วนภูมิภาคที่เหมาะสม โดยการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์แบบเชิงเส้นจำนวนเต็มผสม และวิเคราะห์หาคำตอบด้วยฟังก์ชันหลายวัตถุประสงค์และการโปรแกรมเป้าหมาย นอกจากนี้ยังทำการทดลองปรับค่าตัวแปรของปัจจัยเชิงคุณภาพให้เป็นค่าเชิงต้นทุน และวิเคราะห์หาค่าต้นทุนรวมที่ต่ำที่สุดจากต้นทุนรวมของทุกปัจจัย ภายใต้ข้อมูลของสถานการณ์จำลองนี้ จากการวิเคราะห์หาต้นทุนรวมที่ต่ำที่สุดพบว่าพื้นที่ในจังหวัดชลบุรี นครราชสีมา สุราษฏร์ธานี และลำปาง ได้ถูกเลือกเพื่อเป็นที่ตั้งของศูนย์กระจายสินค้าส่วนภูมิภาคจากพื้นที่ทางเลือกจำนวน 13 จังหวัด เนื่องจากส่งผลให้มีต้นทุนรวมต่ำที่สุด สำหรับการวิเคราะห์ด้วยฟังก์ชันหลายวัตถุประสงค์ พบว่าส่งผลให้คำตอบแตกต่างกันจากการเปลี่ยนการให้ระดับความสำคัญของแต่ละวัตถุประสงค์ และการวิเคราะห์ด้วยฟังก์ชันหลายวัตถุประสงค์ยังสามารถนำมาใช้วิเคราะห์ในกรณีที่ไม่สามารถนำฟังก์ชันแต่ละวัตถุประสงค์มาประยุกต์ใช้เป็นเชิงต้นทุนให้เข้ากับรูปแบบของปัญหาได้

The location of a distribution center directly affects the long-term cost of distribution and the customer demand responsiveness. Locality selection of regional distribution center, which is the lowest-overall logistics cost path, might affect other factors. For example, the selected area might be at risk of being affected by natural disasters, and the distance from other shipment systems might affect the revised strategic distribution plan or future shipping flexibility. On the other hand, the locality selection, which is based on qualitative factors, might increase the long-term distribution cost. This research, therefore, proposes the idea of the consideration of various factors combination includes: the costs of operation and transportation factor, the risk of flood factor, and the system of the railroad and air transportation factor. The appropriate locality selection of regional distribution center could be concerted analyze using the mathematical modeling called mixed integer linear programming (MILP), analysis with the multi-objective optimization and the goal programming method. In addition, this research modulates each qualitative factor into term of cost and experiments the least total cost of all factors through variant modulations. According to the simulated data, from the least-total cost analysis, it was found that the areas in Chonburi, Nakhon Ratchasima, Surat Thani, and Lampang have been selected for the regional distribution centers from alternative areas in thirteen provinces due to the four mentioned provinces provide the lowest cost of all factors. The multi-objective optimization analysis demonstrates the variation of objective weight could affect the answer reasonably. The analysis of multi-objective optimization could be used when all objectives are unable to be modulated into the same unit.


ชื่อผู้แต่ง : ปรางประเสริฐ น้อยสังข์* ชุมพล มณฑาทิพย์กุล
คำสำคัญ : การเลือกทำเลที่ตั้ง ศูนย์กระจายสินค้า การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงปริมาณร่วมกับคุณภาพ การวิเคราะห์ฟังก์ชันหลายวัตถุประสงค์ อุทกภัย รูปแบบการขนส่ง
ประเภท : การวิจัยดำเนินงาน
พ.ศ. : 2560   ปีที่ : 5   ปีที่ : 1  

© 2015 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | National Institute of Development Administration. All rights reserved.
118 หมู่ที่ 3 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 Tel: 0-2727-3000 Fax: 0-2375-8798 E-mail: prnida@nida.ac.th