บทความวิชาการ

การกำหนดตำแหน่งฐานปล่อยรถบรรทุกโดยพิจารณาปริมาณสินค้าที่บรรทุก ทั้งเที่ยวไปและกลับ กรณีศึกษาผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์

งานวิจัยนี้นำเสนอการกำหนดฐานการปล่อยรถบรรทุกที่เหมาะสมให้กับบริษัทกรณีศึกษา ซึ่งมีการขนส่งสินค้าทั้งเที่ยวไป (linehaul) และเที่ยวกลับ (backhaul) โดยอาศัยการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ จากปัญหาที่ฐานปล่อยรถปัจจุบันตั้งอยู่ห่างจากตำแหน่งของลูกค้า ทางบริษัทกรณีศึกษาจึงต้องการหาตำแหน่งในการสร้างฐานปล่อยรถใหม่อีกแห่ง เพื่อลดระยะทางในการขนส่งทั้งหมด โดยมีทางเลือก 2 แห่ง ได้แก่ สระบุรี และชัยภูมิ ผู้วิจัยทำการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้เส้นทางการขนส่งรวมที่มีต้นทุนรวมต่ำที่สุด ซึ่งประกอบด้วยต้นทุนคงที่ และต้นทุนผันแปร โดยมีเงื่อนไขที่จะต้องจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าเที่ยวไปและจากนั้นจะต้องรับสินค้าใหม่กลับมายังจุดปล่อยรถในการขนส่งเที่ยวกลับ แบ่งการทดลองออกเป็น 3 กรณี ได้แก่ 1) กรณียอมให้เปิดฐานปล่อยรถได้ทั้ง 2 ฐานที่สระบุรีและชัยภูมิ 2) กรณีเลือกฐานสระบุรีฐานเดียว 3) กรณีเลือกฐานชัยภูมิฐานเดียว ทำการค้นหาคำตอบด้วยโปรแกรมการหาค่าที่เหมาะสม (OPL 12.4) พบว่า ในกรณีที่ 1 และกรณีที่ 2 ให้ผลลัพธ์เหมือนกัน คือ ควรสร้างฐานปล่อยรถแห่งใหม่ที่ฐานสระบุรีเพียงแห่งเดียว โดยต้นทุนการขนส่งรวมเท่ากับ 14,525,948 บาท เมื่อเทียบกับต้นทุนปัจจุบันที่ใช้ฐานปล่อยรถแห่งเดียวสามารถลดต้นทุนได้เท่ากับ 1,997,084 บาทต่อปี หรือคิดเป็น 12.45% ในกรณีที่ 3 เมื่อจัดเส้นทางการขนส่งโดยปล่อยรถที่ฐานชัยภูมิอย่างเดียว มีต้นทุนการขนส่งรวมเท่ากับ 14,756,471 บาท โดยสามารถลดต้นทุนได้เท่ากับ 1,836,561 บาทต่อปี หรือคิดเป็น 11.06% เมื่อเทียบกับต้นทุนปัจจุบัน ดังนั้น ทางบริษัทควรสร้างฐานปล่อยรถแห่งใหม่ที่สระบุรี เนื่องจากสามารถลดลดต้นทุนการขนส่งรวมได้มากที่สุดหากเปิดใช้ฐานแห่งนี้

The research aimed to determine the optimal location for a depot for the firm under study here, where customer orders on both heading (linehaul) and returning (backhaul) trips, using a mathematical model. Since the existing depot of the case study firm was located far from customers, the firm would like to find a location to establish another depot in order to reduce the total transportation distance. The two candidates were at Saraburi and Chaiyaphum Provinces. We formulated the mathematical model with the objective of minimizing the total cost of transportation, which was composed of fixed cost and variable cost, under the constraints that the orders had to be delivered to the linehaul customers and then another load of goods had to be picked up and brought back to the depot on the backhaul trip. The experiments were conducted using 3 cases: 1) two candidate depots: at Saraburi and Chaiyaphum Provinces; 2) one candidate depot at Saraburi Province; and 3) one candidate at Chaiyaphumb Province. We solved the problem using optimization software (OPL 12.4), and the results showed that cases 1 and 2 had the same result, suggested building a new depot at Saraburi Province with a total transportation cost of 14,525,948 baht. When comparing the result to the current transportation cost with one depot, the cost decreased by the amount of 1,997,084 baht or 12.45%. In case 3, building a new depot at Chaiyaphum Province incurred a total transportation cost of 14,756,471 baht, which represented a decrease in the amount of 1,836,561 baht or 11.06% as compared to the current cost. Therefore, the firm should build a new depot at Saraburi Province because the total transportation cost was reduced the most using this location.


ชื่อผู้แต่ง : สุรพงศ์ พงศ์ดำรงศักดา สุนาริน จันทะ*
คำสำคัญ : ปัญหาการกำหนดตำแหน่งที่ตั้งสถานที่ การหาค่าที่เหมาะสม การขนส่งสินค้าเที่ยวกลับ
ประเภท : การวิจัยดำเนินงาน
พ.ศ. : 2560   ปีที่ : 5   ปีที่ : 1  

© 2015 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | National Institute of Development Administration. All rights reserved.
118 หมู่ที่ 3 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 Tel: 0-2727-3000 Fax: 0-2375-8798 E-mail: prnida@nida.ac.th