แบบจำลองคณิตศาสตร์สำหรับจัดเส้นทางเดินรถขนส่งที่ความจุไม่จำกัด กรณีศึกษา ผู้ให้บริการขนส่งอาหารแช่แข็ง
บริษัทกรณีศึกษาเป็นผู้ให้บริการขนส่งสินค้าแช่แข็ง ให้บริการกับโรงงานผลิตไอศกรีมในการจัดส่งสินค้าไปยังร้านสะดวกซื้อ 3,953 สาขา เนื่องจากสาขามีจำนวนมากทางบริษัทกรณีศึกษาจึงมีการแบ่งสาขาเป็นสองกะทำงานและสองรอบวันทำงาน โดยในงานวิจัยนี้จะเลือกศึกษาเฉพาะกะทำงานกลางคืนและรอบวันทำงานรอบแรก คือ วันจันทร์ พุธ ศุกร์ เพราะมีปริมาณสาขาจัดส่งมากที่สุดโดยมีรถทั้งหมด 37 คันที่ต้องส่งสินค้า 40 สาขาขั้นต่ำต่อคันตามโรงงานกำหนดและทำงานไม่เกิน 8 ชั่วโมง เนื่องจากสินค้าที่ส่งเป็นสินค้าขนาดเล็กทำให้ในบริษัทกรณีศึกษาจะบรรทุกไม่เต็มตู้รถขนส่ง จากลักษณะปัญหาดังกล่าวพบว่าเป็นปัญหาการเดินทางของพนักงานขายหลายคน (Multiple Traveling Salesmen Problem: mTSP) คล้ายคลึงกับปัญหาการจัดเส้นทางการเดินรถ (Vehicle routing problem:VRP) แตกต่างในเรื่องของความจุไม่จำกัด จึงได้ทำการศึกษาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์จากงานวิจัยของ Bektas [1] โดยผู้วิจัยได้เลือกแบบจำลอง Assignment-based และ Flow-based มาปรับปรุงต่อยอดให้สามารถแก้ไขปัญหาของบริษัทกรณีศึกษาได้ ด้วยการเพิ่ม 2 เงื่อนไข คือ 1.กำหนดจำนวนสาขาของร้านสะดวกซื้อที่รถบรรทุกแต่ละคันจะต้องไปส่ง 2.รถแต่ละคันวิ่งไม่เกิน 8 ชั่วโมง ลำดับต่อมาผู้วิจัยได้ทำการทดสอบแบบจำลองคณิตศาสตร์ ด้วยปัญหาทดสอบจำนวน 27 ปัญหาสามารถแบ่งลักษณะปัญหาเป็น 3 รูปแบบ ผลการทดสอบพบว่าแบบจำลอง Flow-based มีประสิทธิภาพดีกว่าและเหมาะสมกับกรณีศึกษา
The company in this case study is a frozen food transporter who serves the services for the
ice-cream manufacturer that wish to deliver their products to 3,953 convenience store branches. With a large number of branches, the works of the company thus are assigned into two shifts (in 1-day period) and two shifts (in 1-week period. In this study, the researchers focused on studying only a night shift and a first shift of 1-week period (Monday, Wednesday, and Friday) because of the highest volume of delivery works in these shifts. This required total of 37 vehicles to perform the delivery works and each vehicle is required to deliver products to at least 40 branches specified by the manufacturer and their work must be no more than 8 hours per day. Since the size of the products delivered is small, the company’s delivering vehicle cannot achieve a full-load capacity. This issue is considered as Multiple Traveling Salesmen Problem(mTSP), which is similar to Vehicle routing problem (VRP). The difference between two problems is the matter of unlimited capacity. Therefore, in this study, researchers examined the mathematical model developed by Bektas [1]. Assignment-based and flow-based models were selected to extend the mathematical model by adding two conditions in order to solve the problem facing the company. Two additional conditions are 1). Number of branches required each vehicle delivers the products must be determined, and 2) Each vehicle must work not more than 8 hours. Then, the researchers tested the mathematical model with 27 problems. The problems could be divided into 3 types based on their characteristics. The results showed that flow-based model had higher efficiency than another model and thus would be suitable for the case study company.
ชื่อผู้แต่ง : น้ำมนต์ กลิ่นพลับ* และ สรวิชญ์ เยาวสุวรรณไชย
คำสำคัญ :
แบบจำลองทางคณิตศาสตร์,ปัญหาการจัดเส้นทางเดินรถขนส่ง,ปัญหาการเดินทางของพนักงานขายหลายคน
ประเภท : การวิจัยดำเนินงาน
พ.ศ. : 2560
ปีที่ : 5
ปีที่ : 1
|