การวัดประสิทธิภาพและการปรับปรุงประสิทธิภาพโรงงานอุตสาหกรรมการเตรียมเส้นใยสิ่งทอด้วยวิธีโอบล้อมข้อมูล
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของโรงงานอุตสาหกรรมการเตรียมเส้นใยสิ่งทอ (ISIC CODE 13111) ในประเทศไทยโดยใช้วิธีโอบล้อมข้อมูล (Data Envelopment Analysis: DEA) และเพื่อนำเสนอแนวทางสำหรับผู้ประกอบการในการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน เก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นโรงงานที่มีการจดทะเบียนและได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการในปี 2558 โดยแบ่งโรงงานอุตสาหกรรมในการศึกษานี้ออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มเครื่องจักรไม่เกิน 50 แรงม้าซึ่งไม่มีการฟอกย้อมสีจำนวน 9 โรงงาน และกลุ่มเครื่องจักรเกิน 50 แรงม้าหรือโรงงานทุกขนาดซึ่งมีการฟอกย้อมสีจำนวน 307 โรงงาน ซึ่งปัจจัยนำเข้าในแบบจำลองนี้มี 7 ปัจจัย ประกอบด้วยเงินลงทุนค่าที่ดิน เงินลงทุนด้านอาคาร เงินลงทุนค่าเครื่องจักร เงินทุนหมุนเวียน พื้นที่อาคาร พื้นที่โรงงานและจำนวนแรงงาน และปัจจัยผลผลิตได้แก่ แรงม้าดำเนินการ ผลการศึกษาพบว่าโรงงานอุตสาหกรรมในกลุ่มที่ 1 มีคะแนนประสิทธิภาพเฉลี่ย 0.769 ในขณะที่โรงงานอุตสาหกรรมในกลุ่มที่ 2 มีคะแนนประสิทธิภาพเฉลี่ย 0.482 โดยโรงงานในกลุ่มที่ 1 มีโรงงานที่มีประสิทธิภาพทั้งสิ้น 6 โรงงาน คิดเป็น 67% ในขณะที่โรงงานกลุ่มที่ 2 มีโรงงานที่มีประสิทธิภาพทั้งสิ้น 14 โรงงาน คิดเป็น 4.6% เมื่อเปรียบเทียบรายปัจจัยนำเข้าภายใต้ข้อสมมติผลตอบแทนต่อขนาดผันแปร (Variable Returns to Scale: VRS) พบว่าปัจจัยด้านพื้นที่อาคารและเงินลงทุนด้านอาคารเป็นปัจจัยที่มีเปอร์เซ็นต์ควรปรับปรุงโดยเฉลี่ยสูงสุดในทั้ง 2 กลุ่มโรงงาน
This study aims to compare the level of the relative efficiency of the preparation of textile fiber manufacturing companies (ISIC CODE 13111) in Thailand using Data Envelopment Analysis (DEA), and to provide a guideline for manufacturing companies to improve their efficiency. Secondary data were acquired from the Department of Industrial Works, where all manufacturing companies were registered and had obtained an approval permit for doing business in 2015. These manufacturing companies can be divided into two groups using the size of their manufacturing establishments as a criterion, i.e. less than or equal to 50 horsepower, comprising 9 manufacturing companies and more than 50 horsepower or any size of their manufacturing establishments that have dyeing processes, comprising 307 manufacturing companies. Seven input variables included the following: land investment, building investment, assess, building areas, factory areas, and the size of the labour force, whereas output was the electric horsepower operated. The results of the study revealed that all of the manufacturing companies in the first group had average relative efficiency score equal to 0.769, while all of the manufacturing companies in the second group had an average relative efficiency score equal to 0.482. There were 6 manufacturing companies in the first group, accounting for 67%, which exhibited efficiency; on the other hand, 14 manufacturing companies from the second group accounted for 4.6%. Under the assumption of variable returns to scale (VRS), the average percentage of improvement of the building areas and building investment was the highest in both groups in comparison with all of the input variables.
ชื่อผู้แต่ง : วลัยลักษณ์ อัตธีรวงศ์ และ กนกกรรณ์ ลี้โรจนาประภา
คำสำคัญ :
ประสิทธิภาพเชิงเปรียบเทียบ, วิธีโอบล้อมข้อมูล, อุตสาหกรรมการเตรียมเส้นใยสิ่งทอ
ประเภท : การวิจัยดำเนินงาน
พ.ศ. : 2559
ปีที่ : 4
ปีที่ : 1
|