บทความวิชาการ

การวางแผนอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วมในอาคารสำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความต้องการของบุคลากรเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานในอาคารศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการของบุคลากรเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานในอาคาร และศึกษาปัญหาอุปสรรคและช่องทางใช้มาตรการประหยัดพลังงานในอาคารของสำนักงานเขตสายไหม ข้อมูลปฐมภูมิรวบรวมจากแบบสอบถามครอบคลุมประชากร บุคลากรในสำนักงานเขตสายไหมโดยมีจำนวนตัวอย่าง 187 คน การศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการนโยบายพลังงานที่แตกต่างกันได้รับข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับพลังงานจากโทรทัศน์มากที่สุด มีความต้องการนโยบายพลังงานและการรณรงค์ประหยัดพลังงานที่ให้ความสำคัญด้านเศรษฐกิจ ความต้องการเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านพลังงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความกระตือรือร้นในการประหยัดพลังงานร้อยละ3.5(r2=0.035)และกับการรณรงค์ประหยัดพลังงาร้อยละ14.1(r2=0.141) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ปัญหาอุปสรรคในการใช้มาตรการประหยัดพลังงานในอาคารสำนักงานเขตสายไหมได้แก่ ขาดความร่วมมือในการประหยัดพลังงาน ค่าใช้จ่ายพลังงานเป็นหน้าที่ของหน่วยงาน ผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญ สำนักงานเขตสายไหมไม่มีนโยบายด้านพลังงานที่ชัดเจน ไม่มีการมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบด้านพลังงานให้แก่บุคลากร การศึกษาพบข้อเสนอแนะได้แก่ การประหยัดพลังงานเริ่มต้นที่นโยบายของผู้บริหาร มีการแข่งขันระหว่างฝ่าย ควรปลูกต้นไม้รอบอาคารเพื่อสร้างร่มเงาและลดการสิ้นเปลืองพลังงานในอาคาร

The objectives of this study were to: study the expectations about the introduction of the energy conservation measure in the office the district of Saimai, identify the factors that influence the expectations about energy saving measure in the district office, identify the problems and obstacles for the use of energy saving measures in the office of the Saimai District. Data were collected from 187 samples. The study found that expectations about energy saving measures differs among samples. Most of the samples are informed about energy saving by televisions. Clear energy policy and economic factors are the most important requirement. Work enthusiasm is highly correlated with energy-saving. Major problems and obstacles include the lack of cooperation view about energy cost as public issues, absence of clear energy policy, and absence of person in charge of the energy matters. Suggestions by sample include: clear energy polices, contest of energy saving performance of different groups, and introduction of trees gardening.


ชื่อผู้แต่ง : ธัญนภัส มณีศรี (Thanaphat Maneesri)
คำสำคัญ : การอนุรักษ์พลังงานในอาคาร, มาตรการประหยัดพลังงาน, ความกระตือรือร้นในงาน Energy Conservation in the Office, energy saving measures,work enthusiasm
ประเภท : การจัดการสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. : 2557   ปีที่ : 2   ปีที่ : 1  

© 2015 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | National Institute of Development Administration. All rights reserved.
118 หมู่ที่ 3 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 Tel: 0-2727-3000 Fax: 0-2375-8798 E-mail: prnida@nida.ac.th