การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนต่อระบบเตือนภัยล่วงหน้า สำหรับพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย-ดินถล่ม : กรณีศึกษา หมู่บ้านที่ติดตั้งสถานีเตือนภัยในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ปีงบประมาณ 2555 (Community Leader Participation toward Warning System for Flash Flood – Landslide Area : A Case Study of Warning Station Village in MeaHongSon Province in 2012 )
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนต่อระบบเตือนภัยล่วงหน้าและศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนต่อระบบเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย-ดินถล่ม : กรณีศึกษา หมู่บ้านที่ติดตั้งสถานีเตือนภัยในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ปีงบประมาณ 2555 ในการศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณนา เป็นค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน ค่า t-test และ F-test เพื่อทดสอบสมมุติฐาน
สำหรับผลการศึกษา พบว่า ผู้นำชุมชนมีส่วนร่วมต่อระบบเตือนภัยล่วงหน้าอยู่ในระดับสูง เพราะผู้นำชุมชนตระหนักถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในชุมชนมาก เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ประชาชนจะมีความพร้อมในการรับมือกับเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติได้ ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนต่อระบบเตือนภัยล่วงหน้า จากการทดสอบสมมุติฐาน ได้แก่ ระดับการศึกษา และตำแหน่งในชุมชน ส่วนปัจจัยที่ไม่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนต่อระบบเตือนภัยล่วงหน้า ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ รายได้ ความรู้ความเข้าใจ และทัศนคติ
ชื่อผู้แต่ง : จุฬาพร ปานชัย (Julaporn Panchai) คำสำคัญ : ระบบเตือนภัยล่วงหน้า; อุทกภัย – ดินถล่ม; ภัยพิบัติทางธรรมชาติ; Early Warning System; Flash Flood-landslide ; Natural Disasters. ประเภท : การจัดการสิ่งแวดล้อม พ.ศ. : 2556 ปีที่ : 1 ปีที่ : 2 |