บทความวิชาการ

การเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยผู้สูงอายุของกลุ่มที่กำลังจะเป็นผู้สูงอายุในอีก 10-20 ปี ข้างหน้า: กรณีศึกษา ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองชุมพร(Preparation for Aging among People Who Become Elderly in Next 10-20 years: A Case Study of Muang District Municipality, Chumphon Province)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมด้านเงินออมและการพึ่งตนเองด้านที่อยู่อาศัย 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อม 3) เพื่อศึกษาปัญหาในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยผู้สูงอายุและแนวทางการส่งเสริมการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยผู้สูงอายุของกลุ่มประชาชนในเขตเทศบาลอำเภอเมืองชุมพร ที่กำลังจะเป็นผู้สูงอายุในอีก 10-20 ปีข้างหน้า จากการศึกษาพบว่า 1) การวางแผนงบประมาณรายรับหลังเกษียณล่วงหน้าส่วนใหญ่มาจากอาชีพเดิมการวางแผนรายจ่ายล่วงหน้าจะมีการใช้จ่ายด้านสุขภาพมากที่สุด การเก็บเงินออมและทรัพย์สินส่วนใหญ่เก็บออมในรูปบัญชีออมทรัพย์ การเก็บสะสมเงินออมในรูปการลงทุนระยะยาวเพื่อการเลี้ยงชีพหลังเกษียณส่วนใหญ่เก็บในรูปแบบประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ การวางแผนสำรองฉุกเฉินทางการเงินส่วนใหญ่มีการเก็บสำรองไว้แล้ว การวางแผนอาชีพหรืองานอดิเรกเพื่อหารายได้เพิ่มเติม ส่วนใหญ่วางแผนจะทำอาชีพเดิมต่อ การวางแผนที่อยู่อาศัยภายหลังเกษียณพบว่าส่วนใหญ่ต้องการอยู่บ้านหลังเดิมกับครอบครัว การจัดเตรียมสภาพแวดล้อมที่จะ อยู่ภายหลังเกษียณพบว่าผู้ที่เตรียมความพร้อมและไม่ได้เตรียมความพร้อมมีสัดส่วนที่เท่ากัน การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ภายในบ้านให้เหมาะกับสภาพร่างกายยามเกษียณพบว่าส่วนใหญ่ไม่มีการเตรียมความพร้อม การวางแผนความสะดวกในการเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ หากเกิดเหตุฉุกเฉิน ส่วนใหญ่มีการวางแผนแล้ว 2) องค์ประกอบ ที่มีความสัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อม พบว่าระดับการศึกษาสูงสุด สถานภาพสมรส รายได้และความมั่นคงของอาชีพ ระยะเวลาก่อนการเกษียณอายุ และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเตรียมตัวเกษียณอายุ มีความสัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมด้านการเงินและการใช้จ่าย ส่วนองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมด้านการพึ่งตนเองด้านที่อยู่อาศัยได้แก่ ระดับการศึกษาสูงสุด สถานภาพสมรส ระยะเวลาก่อนการเกษียณอายุ และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเตรียมตัวเกษียณอายุ ซึ่งองค์ประกอบด้านรายได้และความมั่นคงของอาชีพ ไม่มีความสัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมด้านการพึ่งตนเองด้านที่อยู่อาศัย 3) ปัญหาที่พบคือ(1) การรับรู้ข่าวสารการเตรียมตัวเกษียณอายุมีน้อย (2) การวางแผนค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพล่วงหน้านั้นมีสัดส่วนมากไป (3) ประชาชนไม่ค่อยรู้จักกับกองทุน RMF และ LTF (4) เงินสำรองฉุกเฉินนั้นไม่ได้ระบุสัดส่วนที่ชัดเจน (5) ส้วมภายในบ้านบางส่วนยังเป็นส้วมซึม อาจจะก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บได้ง่าย

The objectives of this research are: 1) to study on preparation on saving and self-reliance onhabitation; 2) to study on elements with relationship to preparation; 3) to study on problems of preparation for aging and promotion guidelines on preparation for aging of people in Muang Chumphon Municipality whobecome elderly in the next 10-20 years. The research finds that 1) For their most subjects planned their revenue budget after retirement in advance from their occupation. For their expenditure planning, most subjects pay most attention on expenditure for health. For saving accumulation, most subjects saved their money in saving account. For saving in the form of long term investment for retirement, most subjects saved their money in the form of saving life assurance. For planning on financial emergency, most subjects had already planed. For planning on finding additional occupations or hobbies for additional income after retirement, it was found from their occupation. For planning on habitation after retirement, it was found that most subjects desired to live in the sane residences with their families. For preparation on residential environment after retirement, it was found that people with preparation and without preparation were equal. For preparing home appliances suitable with physical condition after retirement, it was found that most subjects had no preparation. For planning on convenience of transportation in any emergency case, most subjects had already planned. 2) For elements related to preparation, it was found that educational level, marital status, income, occupational stability, duration before retirement and news and information perception regarding preparation on retirement had relationship with preparation for finance and expenditure. Elements related to preparation for habitation were educational level, marital status, duration before retirement and news and information perception regarding preparation on retirement while elements on income and occupational stability had no relationship with preparation for self-reliance on habitation. 3) Problems found in this research were: (1) information perception regarding preparation on retirement was in low level; (2) the proportion of advance expenditure planning on health may be too much; (3) most people lacked of knowledge on RMF and LTF; (4) the proportion of reservemoney was mostly not specified clearly; (5) most subjects had were lavatories that may caused them injured.


ชื่อผู้แต่ง : ศุภสินธุ์ ตราโต(Suppasin Trato)
คำสำคัญ : สูงอายุ; เกษียณ; เตรียมความพร้อม; Elderly; Retire; Preparation 37
ประเภท : ประชากรและการพัฒนา
พ.ศ. : 2556   ปีที่ : 1   ปีที่ : 2  

© 2015 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | National Institute of Development Administration. All rights reserved.
118 หมู่ที่ 3 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 Tel: 0-2727-3000 Fax: 0-2375-8798 E-mail: prnida@nida.ac.th