บทความวิชาการ

การมีส่วนร่วมของพนักงานในการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในห้องปฏิบัติการเคมี : กรณีศึกษา บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง(Participation of employees in the Environmental Quality Of Laboratory:PTT Global Chemical Public Company Limited)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของพนักงานในการรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมในห้องปฏิบัติการเคมีของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของพนักงานในการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในห้องปฏิบัติการเคมี และนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแก้ไขเพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมของพนักงานภายในห้องปฏิบัติการเคมี การศึกษาเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลทำการสุ่มตัวอย่างพนักงานภายในห้องปฏิบัติการเคมี จำนวน 150 ตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานใช้ t–test, F–test และPearson Correlation ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเกินกว่ากึ่งหนึ่งเป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 50.7เป็นเพศชาย ร้อยละ 49.3 อายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30 ปี คิดเป็นร้อยละ 49.3 สถานภาพโสด ร้อยละ 52.0การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ร้อยละ 78.0รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 35,001 บาทขึ้นไป ร้อยละ 48.0 และมีระยะเวลาในการปฏิบัติงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปร้อยละ 50.0 ซึ่งพนักงานมีระดับความรู้ความเข้าใจและทัศนคติในการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยรวมอยู่ในระดับสูงและการมีส่วนร่วมในการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางสำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของพนักงานในการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในห้องปฏิบัติการเคมีคือ ทัศนคติของพนักงาน มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 63.3 รองลงมาคือ ความตระหนักของพนักงาน และความรู้ความเข้าใจของพนักงานด้านสิ่งแวดล้อม คิดเป็นร้อยละ 59.3 และ 50.0 ตามลำดับ ข้อเสนอแนะเพื่อให้พนักงานมีส่วนร่วมในการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในห้องปฏิบัติการเคมีคือ ควรจัดอบรมให้ความรู้แก่พนักงานเพื่อให้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และจัดทำแผนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของห้องปฏิบัติการเคมีขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่มการมีส่วนร่วมในการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้กับพนักงานในห้องปฏิบัติการเคมี

The purpose of this study was to study participation of employees in environmental conservation and management in a chemical laboratory of PTT Global Chemical Public Company Limited and to investigate factors affecting the participation of employees in environmental conservation and management in the laboratory and hence measures and guidelines to encourage the participation were addressed. This study is a quantitative research and data was collected by random sampling of 150 employees. Results were analyzed using frequency, percentage, mean and standard deviation and hypothesis were tested using t – test, F – test and Pearson correlation. The sampling were women of 50.7% and men of 49.3%, 49.3% of them are less than or 30 years old. They are single of 52.0% and obtained bachelor’s degree of 78.0%. They have average income per month more than 35,001 baht of 48.0% and have a working period less than 5 years of 50.0%. The results of this study showed that the majority of employees had a high level of knowledge and attitude of environmental conservation and management in the laboratory. In addition, the participation of employees in environmental conservation and management in the laboratory was at average level. From the hypothesis’s test, employee’s attitude was the only factor affecting their participation level. In addition, the sampling gave their opinion that attitude, awareness and knowledge of employees on environmental conservation and management were affecting factors, respectively. Suggestions from this study on the participation of employees in environmental conservation and management in the laboratory included a training of employees to be aware of participation in environmental conservation and management, an encouragement of habitat of conservation by using an action plan. The plan should provide guidelines to increase participation of employees in environmental conservation and management in the laboratory.


ชื่อผู้แต่ง : ณัชชา ลาภโอฬาร
คำสำคัญ : การมีส่วนร่วมของพนักงาน; การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในห้องปฏิบัติการเคมี
ประเภท : การจัดการสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. : 2556   ปีที่ : 1   ปีที่ : 2  

© 2015 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | National Institute of Development Administration. All rights reserved.
118 หมู่ที่ 3 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 Tel: 0-2727-3000 Fax: 0-2375-8798 E-mail: prnida@nida.ac.th