บทความวิชาการ

ระดับการใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงโคนมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ของสมาชิก สหกรณ์โคนมไทยมิลค์ จำกัดอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี (The levels of utilizing technology of dairy domestication to reduce greenhouse gas emissions of dairy farmers of Thai Milk Dairy Cooperative Ltd., Muak Lek District, Saraburi Province)

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพพื้นฐานทั่วไปของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม 2)ศึกษาระดับการใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงโคนมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และ 3) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ ต่อระดับการใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงโคนมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสมาชิก สหกรณ์โคนมไทยมิลค์ จำกัด อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ทำการศึกษาข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างกับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมของสมาชิกสหกรณ์โคนมไทยมิลค์ จำกัด จำนวน 278 ราย แล้วนำมาวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านต่าง ๆ กับระดับการใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงโคนมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 41 – 50 ปี จบการศึกษาสูงสุดระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการเลี้ยงโคนม 10 – 15 ปี มีจำนวนโคนม 15 – 30 ตัว มีพื้นที่ในการเลี้ยงโคนมน้อยกว่า 10 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นฟาร์มขนาดกลาง มีผลผลิตนํ้านมดิบ 11 – 15 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน มีรายได้มากกว่า 80,000 บาทต่อเดือน มีระดับการใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงโคนมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อกับระดับการใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงโคนมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้แก่ เพศ อายุ ประสบการณ์ในการเลี้ยงโคนม พื้นที่ในการเลี้ยงโคนม ขนาดของฟาร์ม และรายได้จากการเลี้ยงโคนม ส่วนปัจจัยที่ไม่มีผลต่อกับระดับการใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงโคนมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้แก่ ระดับการศึกษา และผลผลิตนํ้านมดิบต่อตัวต่อวันข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ คือ การสร้างความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักให้เห็นถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยีการผลิตสัตว์เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปประยุกต์ใช้ จึงควรมีการส่งเสริมถ่ายทอดสร้างความรู้ความเข้าใจ ผ่านการประชุมระดมความคิดเห็น การสัมมนา การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม มีการประสานงานสร้างเครือข่ายเกษตรกรเพื่อระดมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การจัดทำโครงการฟาร์มนำร่อง หรือฟาร์มตัวอย่าง โดยเน้นการมีส่วนร่วมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม และภาควิชาการ เช่น กรมปศุสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์ระดับจังหวัดหรืออำเภอ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) เป็นต้น เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต ลดปัญหาสุขภาพที่เกิดจากมลพิษทางด้านสิ่งแวดล้อม มีสภาพแวดล้อมที่ดีในระดับฟาร์ม ชุมชน สังคม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยผลผลิต และเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

The objectives of this study were to determine 1) the general condition of dairy farmers, 2) the levels of utilizing technology of dairy domestication to reduce greenhouse gas emissions, and 3) the factors associated with the levels of utilizing technology of dairy farming to reduce greenhouse gas emissions of dairy farmers of Thai Milk Dairy Cooperative Ltd., Muak Lek District, Saraburi Province. The data were collected with a structured interview questionnaire from 278 dairy farmers of Thai Milk Dairy Cooperative Ltd.. The statistic analyses were descriptive statistics as follow; percentage, mean and standard deviation, and inferential statistic as follow; compared mean (t – test), (F – test) One – way Analysis of Variance and correlation coefficient in order to analyse the effected on factor correlation to the levels of utilizing technology of dairy domestication to reduce greenhouse gas emissions of dairy farmers of Thai Milk Dairy Cooperative Ltd., Muak Lek District, Saraburi Province. The results of the study showed that the majority were female, aged between 41 to 50 years, primary educated, experience in dairy farming between 10 to 15 years, the number of dairy cows 15 to 30, the area of dairy farm less than 10 rais, mostly medium – sized farms, milk yields between 11 to 15 kg per animal per day, income more than 80,000 baht per month, and the use of technology to reduce greenhouse gas emissions had medium levels. The results of hypothesis testing were that the key factors affecting were gender, age, experience in dairy farming, the area of dairy farm, and income from dairy farming. The factors that did not affecting the level of technology to reduce greenhouse gas emissions, including education and milk yield per animal per day. The recommendations from this study were to understanding and awareness to the importance of animal production technology to reduce greenhouse gas emissions to the application should be encouraged by knowledge through brainstorming meetings, seminars and training workshops, coordinated network to mobilize farmers to exchange ideas, farm pilot project, emphasis on the participation of all relevant sectors of government, private sector, the dairy farmer, and academic sectors, such as the Department Livestock Development (DLD), Provincial and District Livestock Office, Dairy Farming Promotion Organization of Thailand (DPO), to increase production, reduce health problems caused by environmental pollution and reduce greenhouse gas emissions per unit of output. The guidelines provide a more tangible.


ชื่อผู้แต่ง : สันติ ดีวิเศษ (Sunti Deevisate)
คำสำคัญ : เทคโนโลยี, โคนม, ก๊าซเรือนกระจก,Technology, Dairy, Greenhouse gas
ประเภท : การจัดการสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. : 2556   ปีที่ : 1   ปีที่ : 1  

© 2015 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | National Institute of Development Administration. All rights reserved.
118 หมู่ที่ 3 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 Tel: 0-2727-3000 Fax: 0-2375-8798 E-mail: prnida@nida.ac.th