การมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะมูลฝอยของครัวเรือน: เทศบาลตำบลคลองจิก อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (Household Participation in Domestic Waste Segregation: KlongjikMunicipality, Bang Pa In, PhraNakhon Si Ayutthaya Province)
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะมูลฝอยของครัวเรือน ในเขตเทศบาลตำบลคลองจิก อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะมูลฝอยของครัวเรือน และเสนอมาตรการการมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะมูลฝอยของครัวเรือน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในตำบลคลองจิก จำนวน 368 ราย โดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบโควต้าเป็นสัดส่วน และได้ทำการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมและด้านสาธารณสุขสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย t-test F-test และ Chi-Square ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 56.8 เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 25-34 ปี มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 36.4 รองลงมามีอายุระหว่าง 35-44 ปี คิดเป็นร้อยละ 29.9สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่ามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 31.2 รองลงมาสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น คิดเป็นร้อยละ 19.0 นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัทมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 54.1 รองลงมาประกอบอาชีพรับจ้าง คิดเป็นร้อยละ 20.1สำหรับระดับการมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะมูลฝอยของครัวเรือนในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานสรุปได้ว่าประชาชนที่มีเพศ อายุ การศึกษาที่แตกต่างกันมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะมูลฝอยที่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะมูลฝอยของครัวเรือน เช่นความเข้าใจว่า การคัดแยกขยะมูลฝอยสามารถลดปริมาณขยะมูลฝอยได้ และช่วยรักษาสภาพแวดล้อม รวมทั้งการติดตั้งฉลากบอกประเภทของการคัดแยกขยะที่ชัดเจน (p-Value=0.000) การมีเจ้าหน้าที่สุขาภิบาลให้ความรู้ในการคัดแยกขยะมูลฝอย (p-Value มีค่าเท่ากับ 0.000)ทัศนคติด้านการปฏิบัติในการคัดแยกขยะมูลฝอย (p-Value มีค่าเท่ากับ 0.001) ความรู้ความเข้าใจของความหมายในการคัดแยกขยะมูลฝอย (p-Value=0.004) ภาชนะในการคัดแยกขยะมูลฝอยที่มีจำนวนเพียงพอ (p-Value=0.005)
ทั้งนี้ เทศบาลคลองจิกจะต้องสร้างโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยใช้กระบวนการประชาคมเพื่อแสดงความคิดเห็นในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชน ชื่อผู้แต่ง : จรรยา ปานพรม (Chanya Parnprom คำสำคัญ : ขยะมูลฝอย หมายถึง สิ่งของเหลือทิ้งจากการผลิตและการใช้สอยของมนุษย์ที่เกิดขึ้น, waste means types of waste must be clearly labeled on the containers ประเภท : การจัดการสิ่งแวดล้อม พ.ศ. : 2556 ปีที่ : 1 ปีที่ : 1 |