กองทุนชดเชยภาวะแทรกซ้อนตาติดเชื้อหลังผ่าตัดต้อกระจก (Compensation Fund for eye infection complications after cataract surgery)
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) กาหนดรูปแบบผลประโยชน์เงื่อนไขของกองทุน 2) เพื่อศึกษาอัตราเบี้ยประกันภัยที่จ่ายเข้ากองทุน วิธีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการกาหนดรูปแบบผลประโยชน์เงื่อนไขของกองทุน ส่วนที่สองเป็นการศึกษาถึงอุบัติการณ์การเกิดโรคตาติดเชื้อหลังผ่าตัดต้อกระจก (post cataract surgery endophthalmitis) ของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจกในประเทศไทย ระหว่างปี 2551-2554 ในโครงการสานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซึ่งเป็นการผ่าตัดต้อกระจกที่มีจานวนมากที่สุดในประเทศไทยและศึกษาค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพื่อนามาใช้ศึกษาอัตราเบี้ยประกันภัยที่จ่ายเข้ากองทุน จากการศึกษาพบว่า อัตราเงินสมทบที่ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายในการดาเนินงาน = [ค่าชดเชยทางการรักษาพยาบาล + (ค่าชดเชยในการสู้คดี × อุบัติการณ์ฟ้องร้อง) + (ค่าชดเชยความรับผิดทางการแพทย์ × อุบัติการณ์ฟ้องร้อง × อุบัติการณ์จักษุแพทย์แพ้คดี)] × (อุบัติการณ์เกิดตาติดเชื้อหลังผ่าตัดต้อกระจก) ซึ่งปัจจัยที่เป็นผลกระทบสูงสุดต่ออัตราเงินสมทบที่ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายในการดาเนินงาน คืออุบัติการณ์การเกิดโรคตาติดเชื้อหลังผ่าตัดต้อกระจกโดยเฉลี่ยคือ 0.047% ซึ่งจัดว่าสูงกว่าประเทศในแถบเอเชียด้วยกันทาให้อัตราเงินสมทบที่ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายในการดาเนินงานที่คาดไว้คือ 1551 บาทต่อการผ่าตัดดวงตาหนึ่งข้าง
เนื่องจากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อมุ่งหมายเพื่อให้เป็นทางออกของสังคม เพื่อชดเชยเยียวยาผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจาการรักษาโรคต้อกระจกและมีผลแทรกซ้อนที่ร้ายแรงเพื่อให้ลดการฟ้องร้องจักษุแพทย์ผู้ผ่าตัดตามมาตรฐานการรักษา และเป็นการบริหารความเสี่ยงของจักษุแพทย์สาหรับเตรียมการฟ้องร้องที่จะตามมาในอนาคต โดยการศึกษาถึงอัตราเบี้ยประกันภัยที่จ่ายเข้ากองทุนลักษณะนี้ในประเทศไทยที่ยังไม่เคยมีการจัดหน่ายมาก่อน จึงสามารถใช้ผลการวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาในเบื้องต้นและเมื่อกองทุนได้ดาเนินงานจริงควรนาตัวแปรของอุบัติการณ์ต่างๆมาปรับใช้อีกทีและอาจนาไปสู่การศึกษาเพิ่มเติมในภายหลังได้ การศึกษาอิสระในครั้งนี้สามารถนาไปวิเคราะห์เพิ่มเติมได้เพื่อเป็นแนวทางให้บริษัทประกันจัดจาหน่ายกรมธรรม์ในรูปแบบใหม่ๆออกจาหน่ายได้ และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ทาการรักษาต้อกระจกสามารถนากองทุนนี้ไปป้องกันความเสี่ยงให้กับแพทย์ผู้ทาการรักษาผู้ป่วยให้แพทย์มีความมั่นใจในการรักษา และสถานพยาบาลจะมีเงินชดเชยผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนตาติดเชื้อหลังผ่าตัดต้อกระจก เพื่อลดปัญหาการฟ้องร้อง ทาให้ช่องว่างความสัมพันธ์ของแพทย์และผู้ป่วยดีขึ้น จากการศึกษานี้สามารถนาแนวคิดไปประยุกต์ใช้เป็นผลิตภัณฑ์ด้านประกันความรับผิดทางทางการแพทย์อื่นๆ ที่มีลักษณะอุบัติการณ์เกิดต่าแต่ความรุนแรงสูง และผู้ป่วยไม่อยู่ในภาวะฉุกเฉินก่อนการรักษา (elective case) เช่น ประกันคลอดบุตรปลอดภัย, กองทุนติดเชื้อหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมเป็นต้น ชื่อผู้แต่ง : รุ่งเกียรติ จางไววิทย์ (Rungkiat Changwaiwit) คำสำคัญ : ต้อกระจก, การติดเชื้อในลูกตา, รับผิดทางการแพทย์, ฟ้องร้องแพทย์;Cataract, Endophthalmitis, Malpractice liability, Sue a doctor ประเภท : วิทยาการประกันภัย พ.ศ. : 2556 ปีที่ : 1 ปีที่ : 1 |