บทความวิชาการ

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะองค์รวมของเยาวชนครอบครัวแตกแยก(Factors related to Holistic Well-Being of Youth from Broken Homes)

การศึกษานี้มุ่งหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับสุขภาวะองค์รวม กลุ่มตัวอย่างเป็นเยาวชนครอบครัวแตกแยกที่เข้าสู่กระบวนการของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนเขต 7 จำนวน 257 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเป็นขั้น พบว่า 1) เยาวชนครอบครัวแตกแยกที่มีการกำกับตนเอง การมองโลกในแง่ดี การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม พื้นฐานการปฏิบัติทางพุทธศาสนา และการสนับสนุนทางสังคมสูง มีสุขภาวะองค์รวมสูงกว่าเยาวชนที่มีปัจจัยเหล่านี้ต่ำ 2) การกำกับตนเอง การมองโลกในแง่ดี การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม พื้นฐานการปฏิบัติทางพุทธศาสนา และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับสุขภาวะองค์รวม 3) การกำกับตนเอง พื้นฐานการปฏิบัติทางพุทธศาสนา การมองโลกในแง่ดี และการสนับสนุนจากครอบครัว สามารถร่วมกันทำนายสุขภาวะองค์รวมได้ร้อยละ 60.3 โดยการกำกับตนเอง เป็นตัวทำนายสำคัญที่สามารถทำนายได้ถึงร้อยละ 47.7 และเมื่อทำนายร่วมกับพื้นฐานการปฏิบัติทางพุทธศาสนา สามารถร่วมกันทำนายได้ถึงร้อยละ 58.5

This study attempts to explore a correlation between factors and holistic well-being. The samplings, selected from the simple random sampling method, were 257 youth from broken homes and had been in the rectification process of The Observation and Protection Center, Regional Office 7. The research instrument was questionnaires and the data obtained were analyzed by using Independent sample t-test, Pearson’s product moment correlation coefficient and Stepwise multiple regression analysis. The findings were as follows: 1) Youth from broken homes, who had high levels of self-regulation, optimism, moral reasoning, basic practice base on Buddhism and social support, had a higher level of holistic well-being than youth who had low levels of those factors. 2) There was a positive correlation between holistic well-being and the factor of self-regulation, optimism, moral reasoning, basic practice base on Buddhism and social support. 3) Self-regulation, basic practice base on Buddhism, optimism and family support were used to predict holistic well-being upto 60.3 percent. Among them, self-regulation was the key prophecy which could predict holistic well-being upto 47.7 percent. And when this factor came along with the basic practice base on Buddhism, two factors together cloud predict the holistic well-being upto 58.5 percent.


ชื่อผู้แต่ง : พิณนภา แสงสาคร (Pinnapa Saengsakorn)
คำสำคัญ : สุขภาวะองค์รวม ,การกำกับตนเอง, การมองโลกในแง่ดี, การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม, พื้นฐานการปฏิบัติทางพุทธศาสนา, การสนับสนุนทางสังคม
ประเภท : การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
พ.ศ. : 2558   ปีที่ : 55   ปีที่ : 1  

© 2015 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | National Institute of Development Administration. All rights reserved.
118 หมู่ที่ 3 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 Tel: 0-2727-3000 Fax: 0-2375-8798 E-mail: prnida@nida.ac.th