บทความวิชาการ

การจัดอัตรากำลังพยาบาลในแผนกฉุกเฉิน กรณีศึกษาแผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และนำเสนอแนวทางการจัดอัตรากำลังพยาบาลหัวหน้าเวรและพยาบาลปฏิบัติการที่ปฏิบัติหน้าที่ในแผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ให้สามารถรักษาผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิผลและมีความเหมาะสมกับภาระงานที่เกิดขึ้นตลอด 24 ชั่วโมงในแต่ละวัน ผู้ป่วยที่เข้ารับบริการจะถูกแบ่งประเภทตามความรุนแรงของอาการ กล่าวคือ ประเภทที่มีอาการไม่รุนแรง (ผู้ป่วยสีเขียว) ประเภทที่มีอาการรุนแรงแต่ยังไม่ถึงขั้นวิกฤติ (ผู้ป่วยสีเหลือง) และประเภทที่มีอาการวิกฤติ (ผู้ป่วยสีแดง) ในการรักษานั้น โรงพยาบาลได้แบ่งพยาบาลออกเป็นกลุ่มๆ ซึ่งจะถูกมอบหมายให้ดูแลผู้ป่วยประเภทที่ต่างกัน โดยแต่ละกลุ่มจะประกอบไปด้วยพยาบาลหัวหน้าเวร และพยาบาลปฏิบัติการ ซึ่งแต่ละตำแหน่งจะมีภาระหน้าที่เฉพาะตน โดยทั่วไป ผู้ป่วยจะผ่านกระบวนการให้บริการตั้งแต่การเข้ามารับบริการที่จุดวินิจฉัยอาการเบื้องต้น (triage) ได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์แผนกฉุกเฉิน ได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์เฉพาะทาง ได้รับการรักษา และออกจากแผนกฉุกเฉินในที่สุด ผู้วิจัยได้รวมรวมข้อมูล พัฒนาแบบจำลองสถานการณ์การให้บริการในแผนกฉุกเฉิน พบว่า พยาบาลหัวหน้าเวรในแต่ละกลุ่มจะมีภาระงานที่สูง คือ มีเวลาทำงานที่เกิดประโยชน์ (utilization) มากกว่าร้อยละ 80 ซึ่งมากกว่าพยาบาลปฏิบัติการอยู่มาก ผู้วิจัยจึงได้นำเสนอแนวทางการจัดอัตรากำลังพยาบาลหัวหน้าเวรและพยาบาลปฏิบัติการใหม่ เช่น พิจารณาการโอนภาระหน้าที่บางอย่างของพยาบาลหัวหน้าเวรสู่พยาบาลปฏิบัติการ การเพิ่มพยาบาลหัวหน้าเวรในกะที่พยาบาลหัวหน้าเวรมีเวลาการทำงานให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด เป็นต้น ผลจากการจำลองสถานการณ์ชี้ให้โรงพยาบาลเห็นว่า โรงพยาบาลสามารถจัดอัตรากำลังพยาบาลหัวหน้าเวรและพยาบาลปฏิบัติการใหม่ซึ่งจะสอดคล้องกับภาระงานโดยรวมในแต่ละกะมากยิ่งขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำของภาระงานของพยาบาลแต่ละตำแหน่ง และยังสามารถให้บริการผู้ป่วยได้รวดเร็วยิ่งขึ้นอีกด้วย

This study aims to propose and analyze emergency department nurse workforce allocation guidelines for Thammasat University Hospital, in order to provide services to patients more effectively and that fit into the 24-hour daily workload. Patients attending emergency department were assigned in different acuity levels depending on the severity. The levels were as follows: urgent patient (green label), emergent patient (yellow label), and critical patient (red label). In terms of patient treatment, nurses were assigned to specific groups for taking care of the patient at different levels. Each group consisted of two staffs members with specific responsibilities, i.e. in-charge nurse and registered nurses. Generally, a patient enters the emergency department and then is preliminarily diagnosed at the triage station. After that, the patient is treated and diagnosed by the ED physician and a specialist. Finally, the patient is disposed by the emergency department. Data were collected for developing a simulation model for the ED. The as-is simulation model showed that the workload of the in-charge nurses was high, at more than 80% utilization. This rate was much higher than that of the registered nurse’s utilization. Thus, new ED nurse workforce management guidelines were proposed, such as allocating some tasks from the in-charge nurse to the registered nurse, adding more in-charge nurses for particular shifts in which the utilization of the in-charge nurse is higher than during other shifts, etc. The simulation results indicated that the ED nurse workforce can be managed and reconciled with the total workload of each shift properly. Further, the hospital can reduce inequality in the individual workload and also able to provide faster service for the patient.


ชื่อผู้แต่ง : พีรธัช ศักดิ์อุดมไชย1 วิชญ์พล อังคณาภิวัฒน์2 วีรภัทร ตั้งจักรวรานนท์3 กมลวัทน์ สุขสุเมฆ4 สีรง ปรีชานนท์5และ จิตรลดา ลิ้มจินดาพรุ6
คำสำคัญ : การจัดอัตรากำลัง, การจำลองสถานการณ์, แผนกฉุกเฉิน, พยาบาล
ประเภท : การวิจัยดำเนินงาน
พ.ศ. : 2558   ปีที่ : 3   ปีที่ : 1  

© 2015 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | National Institute of Development Administration. All rights reserved.
118 หมู่ที่ 3 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 Tel: 0-2727-3000 Fax: 0-2375-8798 E-mail: prnida@nida.ac.th