บทความวิชาการ

วิธีฮิวริสติกสำหรับลดค่าความแปรปรวนของภาระงาน ในการจัดสมดุลสายงานการประกอบรูปทรงตัวยู

บทความนี้เสนอการจัดสมดุลสายงานการประกอบรูปทรงตัวยู ด้วยวิธีเจเนติกอัลกอริทึม (Genetic Algorithm; GA) ร่วมกับระบบมดแม็ก-มิน (Max-Min Ant System; MMAS) วิธีการที่นำเสนอนี้ GA ทำหน้าที่กำหนดจำนวนขั้นงานที่เหมาะสมให้กับแต่ละสถานีงาน ในขณะที่ MMAS ทำหน้าที่ปรับละเอียดลำดับขั้นงานที่ทำให้ค่าความแปรปรวนของภาระงานของสายงานการประกอบมีค่าน้อยที่สุด โดยสอดคล้องกับเงื่อนไขความสัมพันธ์ก่อน-หลังของขั้นงาน ค่าความแปรปรวนของภาระงานถูกกำหนดให้เป็นฟังก์ชันเป้าหมายของกระบวนการค้นหาด้วยวิธีเจเนติกอัลกอริทึม วิธีการที่นำเสนอนี้ถูกทดสอบกับปัญหา UALB จำนวน 24 ปัญหาที่ได้จากการรวบรวมของ Scholl จากผลการทดสอบพบว่า วิธีการที่นำเสนอนี้สามารถลดค่าความแปรปรวนของภาระงานในทุกปัญหา เมื่อเปรียบเทียบกับวิธี COMSOAL และวิธีระบบมดแม็ก-มิน ร่วมกับเทคนิคแบบสุ่ม มีค่าค่าความแปรปรวนของภาระงานมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 81.95% และ 73.16% ตามลำดับ

This paper presents the U-Shaped assembly line balancing (UALB) by using the Genetic Algorithm (GA) and Max-Min Ant System (MMAS). The GA was used for assigning the number of tasks to each workstation. The MMAS method was used for fine-tuning the task sequences at each workstation according to precedence constraints in order to minimize the workload variance of the assembly line. The workload variance was set as the objective function. The proposed method was tested against 24 UALB problems collected by Scholl. The results showed that the proposed method was capable of producing better solutions for all problems compared to the COMSOAL method and the Max-Min Ant System with Random Permutation optimization (MMAS with RP). The workload variance produced from the proposed method was reduced about 81.95% and 73.16% from the solutions computed by COMSOAL method and MMAS with RP, respectively


ชื่อผู้แต่ง : อมรพงศ์ สงวนสินธุ์ จักรวาล คุณะดิลก
คำสำคัญ : การจัดสมดุลสายงานการประกอบรูปทรงตัวยู, เจเนติกอัลกอริทึม, วิธีระบบมดแม็ก-มิน
ประเภท : การวิจัยดำเนินงาน
พ.ศ. : 2557   ปีที่ : 2   ปีที่ : 2  

© 2015 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | National Institute of Development Administration. All rights reserved.
118 หมู่ที่ 3 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 Tel: 0-2727-3000 Fax: 0-2375-8798 E-mail: prnida@nida.ac.th