บทความวิชาการ

วิธีแก้ปัญหาการเลือกเตาเผาขยะติดเชื้อสำหรับโรงพยาบาลชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย

งานวิจัยนี้เป็นการเลือกขนาดและตำแหน่งที่ตั้งของเตาเผาขยะติดเชื้อ สำหรับโรงพยาบาลชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย ประกอบไปด้วยจังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม สกลนคร อุดรธานี หนองคาย หนองบัวลำภู และ เลย จำนวนทั้งหมด 107 แห่ง มาสร้างเป็นแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น มีฟังก์ชันวัตถุประสงค์เพื่อเลือกขนาดและตำแหน่งที่ตั้งของเตาเผาขยะติดเชื้อ โดยให้มีต้นทุนรวมต่ำที่สุด ซึ่งประกอบไปด้วยต้นทุนการขนส่ง และค่าดำเนินการ ความจุของเตาเผาขยะติดเชื้อที่พิจารณามี 3 ขนาด คือ ความจุตั้งแต่ 400 800 และ1,200 กิโลกรัม/เตา/วัน และค่าดำเนินการตั้งแต่ 3,569 4,579 และ 5,543 บาท/วัน ตามลำดับ จากการหาคำตอบด้วยโปรแกรม Lingo พบว่าผลคำตอบที่ดีที่สุดมีต้นทุนรวมต่ำสุดเท่ากับ 29,821 บาท/วัน โดยมีการเลือกที่ตั้งของเตาเผาขยะติดเชื้อ 3 ตำแหน่ง คือ ตำแหน่งแรกอยู่ที่โรงพยาบาลเชียงยืนเลือกเตาเผาขยะติดเชื้อที่มีความจุ 800 กิโลกรัม/เตา/วัน ตำแหน่งที่สอง คือโรงพยาบาลสว่างแดนดิน โดยมีเตาเผาขนาดความจุ 800 กิโลกรัม/เตา/วัน และตำแหน่งสุดท้ายที่โรงพยาบาลเอราวัณ เลือกเตาเผาขนาดความจุ 400 กิโลกรัม/เตา/วัน ตามลำดับ

This research aimed to select the size and location of infectious waste incinerators for community hospitals in the upper part of northeast Thailand, comprising Khonkaen, Kalasin, Mahasarakham, SakonNakhon, UdonThani, NongKhai, NongbuaLamphu, and Loei, by considering only community hospitals. There were 107 hospitals considered in total. The objective function of the mathematical model was developed by selecting the size and location of the infectious waste incinerators with the lowest total cost that comprising transportation and operating costs. The capacity of the infectious waste incinerators was considered by three sizes selected 400, 800, with 1,200 kg/incinerator/day with represent as operating costs by 3,569 4,579 and 5,543 Bath/day respectively. The computational results from lingo showed the lowest total cost of 29,821 Baht/day by the three capacity of infectious waste incinerators selected. The first represented as 800 kg/incinerator/day at the Chiang Yun Hospital, the second was 800 kg/incinerator/day at the Sawang Daen Din Hospital and the last was 400 kg/incinerator/day at the Erawan Hospital.


ชื่อผู้แต่ง : อนุชา ศรีบุรัมย์
คำสำคัญ : ตำแหน่งที่ตั้ง,เตาเผาขยะติดเชื้อ,โรงพยาบาลชุมชน
ประเภท : การวิจัยดำเนินงาน
พ.ศ. : 2556   ปีที่ : 1   ปีที่ : 2  

© 2015 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | National Institute of Development Administration. All rights reserved.
118 หมู่ที่ 3 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 Tel: 0-2727-3000 Fax: 0-2375-8798 E-mail: prnida@nida.ac.th