การประมาณค่าและประสิทธิผลของอัตราป้องกันความเสี่ยงที่เหมาะสม กรณีศึกษาตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อประมาณค่า Hedge ratio ผ่านแบบจำลองเศรษฐมิติ ได้แก่ OLS, VAR, VECM และ Bi-GARCH รวมไปถึงทดสอบประสิทธิผลในการป้องกันความเสี่ยง (Hedging effectiveness) สำหรับช่วง in-sample และ out-of-sample ในรูปแบบของความสามารถในการลดความแปรปรวนของพอร์ตที่มากที่สุด เพื่อหาแบบจำลองที่เหมาะสมสำหรับกรณีศึกษาสัญญายางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) ผลการทดลองชี้ให้เห็นว่าฟิวเจอร์สสามารถใช้ป้องกันความเสี่ยงได้จริง และเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างแบบจำลองที่ให้ค่า Hedge ratio คงที่ แบบจำลอง VECM จะมีประสิทธิผลสามารถลดความแปรปรวนของพอร์ตได้มากกว่าแบบจำลอง VAR และแบบจำลอง OLS ตามลำดับทั้งในกรณี in-sample และ out-of-sample ขณะที่แบบจำลอง Bi-GARCH ที่ให้ค่าอัตราป้องกันความเสี่ยงเปลี่ยนแปลงไปตามเวลากลับมีประสิทธิผลน้อยที่สุดในส่วนใหญ่ ชื่อผู้แต่ง : วาทินี โชตินุชิตตระกูล และ ธนโชติ บุญวรโชติ คำสำคัญ : ตราสารอนุพันธ์, สัญญาซื้อขายล่วงหน้า, แบบจำลองทางเศรษฐมิติ, อัตราป้องกันความเสี่ยง, ประสิทธิผลในการป้องกันความเสี่ยง ประเภท : การวิจัยดำเนินงาน พ.ศ. : 2556 ปีที่ : 1 ปีที่ : 1 |