บทความวิชาการ

การประยุกต์อัลกอริทึมเพื่อใช้หาเส้นทางและปริมาณการไหลสูงสุดของน้ำในกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบจำลองการไหลสูงสุด

วิกฤติน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในประเทศไทยปี 2554 ทำให้เกิดความเสียหายในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร น้ำไม่สามารถระบายลงสู่อ่าวไทยได้ทันเวลา งานวิจัยนี้มุ่งเน้นประยุกต์สองขั้นตอนวิธี (Algorithms) ประกอบด้วย ขั้นตอนวิธีเลเบล (Labeling algorithm) และขั้นตอนวิธีขยาย (Generic augmenting path algorithm ) เพื่อใช้หาปริมาณการไหลสูงสุดของน้ำจากทางตอนบนของกรุงเทพมหานครลงสู่อ่าวไทย การไหลสูงสุดของน้ำในกรุงเทพมหานครแทนการไหลในข่ายงาน (Network flow) แม่น้ำและคลองต่าง ๆ ถูกอธิบายด้วยโหนด (nodes) และ เส้นเชื่อม (arcs) ขั้นตอนวิธีเลเบล และ ขั้นตอนวิธีขยาย ใช้เพื่อค้นหาเส้นทางการไหลของน้ำจากโหนดต้นทาง (source) ไปยังโหนดปลายทาง (sink) และ หาปริมาณการไหลสูงสุดของน้ำตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่าปริมาณการไหลสูงสุดของน้ำในกรุงเทพมหานครคือ 228,960,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน

Thailand’s flood crisis in 2011 brought damage to many areas in Thailand. Especially in Bangkok, the water could not drain into the Gulf of Thailand at that time. This paper aims to apply two algorithms, consisting of the generic augmenting path algorithm and the labelling algorithm, in order to determine the maximum flow of water from the north of Bangkok to the Gulf of Thailand. The flow of water in Bangkok is represented by network flow. Rivers and canals are represented by nodes and arcs. Labelling and the generic augmenting path algorithms were used to find the water route from a source to a sink and maximum water flow respectively. The results showed that the maximum flow in Bangkok was 228,960,000 cubic meters per day.


ชื่อผู้แต่ง : คเณศ พันธุ์สวาสดิ์ และ แพรวนภา อินตา*
คำสำคัญ : การไหลสูงสุด, ขั้นตอนวิธีเลเบล, ขั้นตอนวิธีขยาย
ประเภท : การวิจัยดำเนินงาน
พ.ศ. : 2561   ปีที่ : 6   ปีที่ : 1  

© 2015 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | National Institute of Development Administration. All rights reserved.
118 หมู่ที่ 3 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 Tel: 0-2727-3000 Fax: 0-2375-8798 E-mail: prnida@nida.ac.th